วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5

บทที่ 5 การติดตั้งระบบปฏิบัติการ
1.ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ (proprietary software)
       คือ ซอฟต์แวร์ที่สิทธิ์ในการใช้งานและทำซ้ำถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ ผู้อื่นไม่สามารถนำมาใช้งานหรือทำซ้ำได้นอกจากได้รับอนุญาตในสิทธิ์นั้นจากเจ้าของ. proprietary software อาจไม่ได้เป็น ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เสมอไป, แต่โดยมากแล้ว เจ้าของซอฟต์แวร์มักจะใช้กลไกของระบบกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องมือในการสงวนสิทธิ์ของตนเองไว้, ทำให้ซอฟต์แวร์กลายเป็น proprietary software. ตัวอย่างของ proprietary software ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ หรือ อะโดบี โฟโตชอป
คำว่า "โพรไพรเอทารีซอฟต์แวร์" เป็นคำจำกัดความที่ทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation, FSF) ได้สร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายถึงซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์เสรี เพื่อ ไว้เรียกเปรียบเทียบกับ ซอฟต์แวร์เสรี หรือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ผู้อื่นใช้งาน แจกจ่าย และ ดัดแปลงแก้ไขได้

2.ซอฟต์แวร์ระบบเปิด
       กรุงเทพธุรกิจ - หน่วยงานของรัฐ คือ ตัวกำหนดมาตรฐานการใช้ซอฟต์แวร์ที่สำคัญ เมื่อรัฐเลือกใช้ซอฟต์แวร์ใด เอกชนย่อมต้องเลือกใช้ระบบที่เหมือนกัน เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน ไม่ต้องเสียเวลาแปลงไฟล์กันไปมา
รอแรงขับจากหน่วยงานรัฐ
กระทั่ง อาจก่อปัญหาให้อ่านไฟล์กันไม่ได้ ซึ่งเฉพาะปี 2548 ทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน มีค่าใช้จ่ายซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์และบริการรวมกันเกือบ 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหน่วยงานรัฐกว่า 7,100 ล้านบาท เอกชน เฉพาะกิจการขนาดใหญ่เกือบ 4 หมื่นล้านบาท
ไม่เฉพาะไทยประเทศเดียวที่ต้อง จ่ายค่าซอฟต์แวร์ และบริการจำนวนมหาศาลต่อปี แต่ประเทศอื่นๆ ก็เผชิญสภาวะเดียวกัน ดังนั้น ซอฟต์แวร์มาตรฐานเปิดจึงเป็นทางเลือกที่หลายประเทศให้ความสนใจ โดยรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้กำหนดนโยบายเป็นทางการใช้เทคโนโลยีระบบเปิดและไฟล์เอกสารแบบเปิด เช่น มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ที่กำหนดให้ใช้ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นออฟฟิศ ต้องรับกับมาตรฐานระบบเปิด
ภายในมกราคม ปี 2550 กรมสรรพากรฝรั่งเศส ที่โอนย้ายระบบโปรแกรมออฟฟิศในพีซี 80,000 เครื่องไปใช้แอพพลิเคชั่น ออฟฟิศ ที่เป็นมาตรฐานเปิด และปีที่แล้ว กระทรวงกลาโหมของสิงคโปร์ ได้เปลี่ยนระบบการใช้ซอฟต์แวร์แบบปิดจากเดสก์ทอป 20,000 เครื่องมาใช้ซอฟต์แวร์แบบเปิด ซึ่งคาดว่า กว่า 13 ประเทศกำลังพิจารณาการใช้โอเพ่น ดอคคิวเม้นท์ ฟอร์แมต (ODF)
"การเข้าสู่ระบบเปิด จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือแลกเปลี่ยนการพัฒนาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ท้ายที่สุดก็ช่วยสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ หากรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใดไม่ปรับตัวให้เป็นไปตามกระแสโลก ไม่ใช้เทคโนโลยีระบบเปิดแล้ว เชื่อว่า 5-10 ปีข้างหน้า จะถูกบายพาสจากประเทศอื่นๆ ได้" นายสตีเฟ่น เบรม รองประธาน กอฟเวิร์นเม้นท์ โปรแกรม เอเชีย แปซิฟิก ไอบีเอ็ม กล่าว
เร่งไทยใช้มาตรฐานเปิด
นายเบรม กล่าวว่า ไทยต้องเร่งเข้าสู่การปรับใช้มาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งรองรับการทำงานต่างระบบ (Interoperability) และการใช้มาตรฐานเอกสารโอดีเอฟ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน โดยไม่อิง หรือผูกติดกับเทคโนโลยีของบริษัทรายหนึ่งรายใด (Independent) ทั้งยังทำให้รัฐสามารถควบคุมและเรียกใช้เอกสารโดยไม่อิงกับเทคโนโลยีที่ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาได้ (Forward and Backward Competability)
สำหรับมาตรฐานโอดีเอฟ เป็นความพยายามผลักดันระดับโลกที่จะแก้ไขปัญหาเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาครัฐและประชาชนที่ต้องใช้งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีปัญหาการเข้าถึง ค้นคืน และใช้ข้อมูลเหล่านั้น กรณีที่มีการใช้งานไฟล์เอกสารต่างโปรแกรมซอฟต์แวร์ จึงเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มพันธมิตร "โอเพ่น ดอคคิวเม้นท์ ฟอร์แมต อะลายแอนซ์ " จาก35 องค์กรทั่วโลก ที่มีสมาชิกประกอบด้วย สมาคม เวนเดอร์ สถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐด้านไอซีทีของหลายประเทศ
หน่วยงานรัฐแรงดันระบบเปิด
หน่วยงานรัฐ จะเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงผลักดันให้ใช้มาตรฐานเปิด และไฟล์เอกสารเปิดโอดีเอฟได้ โดยกำหนดในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐว่าต้องเป็นมาตรฐานเปิดและทำงานต่าง ระบบร่วมกันได้ และบังคับใช้โอดีเอฟ ซึ่งการผลัดกันนั้น จะเป็นกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดที่มีอิทธิพลผลักดันหน่วยงานอื่นๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้
ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงเทคโนโลยีสาร สนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องการจัดซื้อ กระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องใช้การแลกเปลี่ยนข้อมูลผู้ป่วย (เฮลธ์ เรคคอร์ด)
นอกจากนั้น กลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปค ก็สามารถร่วมมือกันพัฒนาการใช้งานโอดีเอฟได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ โดยเฉพาะหากเกิดปัญหาการระบาดไข้หวัดนก ก็อาจแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศกันได้มากและง่ายขึ้น
ด้านข้อมูลจากซีเน็ต นิวส์ ระบุว่า การผลักดันโอดีเอฟ เป็นการสร้างมาตรฐานเอกสารออฟฟิศทั้งการประมวลผลคำ (WordProcessing) การนำเสนอ (Presentation) และเอกสารคำนวณ (Spredsheet) โดยปัจจุบันกว่า 90% ของโปรแกรมเอกสารสำนักงานจะใช้ฟอร์แมตของไมโครซอฟท์
ขณะที่ไมโครซอฟท์ พยายามส่งเสริมการใช้มาตรฐานเอกสาร ที่เป็นโอเพ่น เอ็กซ์เอ็มแอล ดอคคิวเม้นท์ ฟอร์แมต โดยในโปรแกรมออฟฟิศ 2007 ที่ไมโครซอฟท์จะวางตลาดครึ่งปีหลังของปี 2550 จะใช้ไฟล์มาตรฐานโอเพ่นเอ็กซ์เอ็มแอล

สอนการติดตั้ง Windows 7

1. ทำการตั้งค่า BIOS ของ คอมพิวเตอร์ของเรา โดยทำการเปิดคอมพิวเตอร์ > จากนั้นกด ปุ่ม “Delete” บน keyboard เพื่อเข้าในหน้า Bios > จากนั้นตั้งให้ Boot จาก DVD เป็นอันดับแรก > จากนั้นทำการบันทึกค่าที่เราเปลี่ยน จากนั้นคอมพิวเตอร์จะ Restart
หมายเหตุ : สำหรับ Notebook บางรุ่นอาจจะให้กด F2 , F10 แล้วแต่ยี่ห้อนะครับ
วิธีการเข้า BIOS : การเข้าไบออสคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่น
Note : แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / PC ส่วนมากจะกด F12 , F10 (กดย้ำๆเลยนะครับ) เผื่อทำการเลือกเลยว่าเราจะ Boot จากอะไรในตอนเปิดคอมพิวเตอร์ โดยให้เลือกจาก DVD / USB ตามที่เราต้องการที่จะติดตั้ง Windows 7
Tab : Boot  “ภาพด้านล่างเป็นการปรับ BIOS โดยถ้าต้องการให้ ให้ Boot USB ก็ให้ทำการเลื่อน USB ขึ้นมาบนสุด แต่ถ้าจะให้ CD/DVD Boot ก็ให้เลื่อนให้ขึ้นมาบนสุด โดยการกด +/- ในการ เลื่อนขึ้นลง ”
SET BIOS COMPUTER
สำหรับ Windows 7 แนะนำให้ปรับ Mode SATA Operation : ให้เป็น AHCI 
AHCI (Advanced Host Controller Interface ) this is a hardware mechanism that allows the software to communicate with Serial ATA (SATA) devices.
โดย AHCI เป็น ฮาร์ดแวร์ที่ควบคุมกลไกการทำงาน ระหว่างซอฟต์แวร์กับ SATA
AHCI Mode HDD
2. จากนั้นจะขึ้นข้อความ Press any key to boot cd or dvd ….   ให้ทำการกด Enter 1ครั้ง  หรือรัวๆเลยก็ได้แล้วแต่ครับ
3. เริ่มเข้า Starting Windows
install Windows 7
3. เข้าสู่หน้า Windows 7 Setup
Language to install : เลือก English
Time and Currency format : เบิอก English (United States)
Keyboard or input method  : เลือก US
install Windows 7 Setup

4. ทำการกด Install Now
install Windows 7 install

5. เลือก I accept the license terms > กด Next
install Windows 7 Setup license

6. ทำการเลือก Custom (advance) ในการติดตั้ง
install Windows 7 custom

7. ในขั้นตอนตรงนี้มี 2 กรณี ให้้เลือกตามที่ผมกำลังจะอธิบายนะ
Advertisements
7.1 กรณีแรก : กรณีเพิ่งซื้อคอมพิวเตอร์มาใหม่ และยังไม่เคยลง Windows แปลว่า Harddisk ยังไม่ได้ใช้แลยังไม่ได้แบ่ง Partition 
7.1.1 .ทำการเลือก DISK ที่เรามีโดยเอาเมาส์คลิกซ้ายเลือก และจะเห็นเมนูให้ทำการกด Drive option (advanced)
install Windows 7 drive option advance
7.1.2 ทำการกด New >
Size ให้ทำการใส่จำนวน Harddisk Drive C ที่เราอยากได้ เช่น 100 GB ก็ให้เอา 1024 คูณไป ก็จะได้ 102400 MB (ผมแนะนำให้ Drive C = 100 GB)  ส่วนที่เหลือก็ให้ทำการคลิก New อีกครั้งแล้วก็แบ่งให้หมดจะได้เป็น Drive D
install Windows 7 new disk

7.1.3  ให้ทำการเลือก Drive ที่เราแบ่งไว้ที่จะเป็น Drive : C โดยทำการคลิกบน Drive นั้นๆ และทำการกด Next
หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System / System Reserved
install Windows 7 install windows

7.2 กรณีสอง : กรณีลง Windows มาแล้ว แต่อยากทำการลง Windows 7 ใหม่
7.2.1 ให้ทำการเลือกไปที่ Drive ที่เป็น Drive C เดิมของเราปัจจุบัน (คลิกเมาส์ซ้ายเลือก) จากนั้นกด Format (โดยให้สังเกตุก่อนการ Format ว่า Drive C ของเราคือ Drive ไหน โดยให้สังเกตุจากความจุของ Harddisk หรือเราจะเข้าไปเปลี่ยน Label ของ Drive ก่อนการ Format ก็ได้ เราก็จะได้ไม่ Format ผิด Drive)
ก่อนการ format เราต้อง Backup ข้อมูลของ Drive C ที่เราที่สำคัญของเราด้วยนะ
install Windows 7 format disk

7.2.2  จากนั้นก็เลือก Drive C ที่เรา format ไป > กด Next
หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System
install Windows 7 install windows

8. รอทำการติดตั้ง Windows 7
install Windows 7 watting install

9. ตั้งชื่อ Type a user name : ให้เราตั้งชื่อ User ในการ Login Windows  อาทิเช่น Patompon
Type a computer name : ให้ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์
install Windows 7 username
10. ทำการตั้ง Password ใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ โดยถ้าไม่ใส่ ก็ให้ทำการกด Next ได้เลย
install Windows 7 password
11. ใส่ Product Key Windows 7 (สำหรับใครไม่เป็นหน้านี้ก็ให้ข้ามไปได้เลยครับ)
install Windows 7 produckey
12. สำหรับใครที่ใช้ Windows 7 แท้ ให้เลือก User Recommended Settings ในการ Update Windows 7
install Windows 7 securiry
13. ตั้งเวลาของ Windows โดยให้เลือก
Time zone : UTC+7 Bangkok
install Windows 7 settime

14. เลือก Publish Network (สำหรับใครไม่เป็นหน้านี้ก็ให้ข้ามไปได้เลยครับ)
install Windows 7 publish
15. เสร็จสิ้นการติดตั้ง Windows 7
จากการสอนด้านบน บางภาพอาจจะไม่เหมือนกันบางจุด แนะนำว่าให้อ่านว่า Microsoft ให้ทำอะไร บางภาพบางคนไม่มีก็ไม่ต้องตกใจนะครับ
จากนั้นใครที่ต้องการลง Driver เพิ่มเติมก็ให้ทำการลง Driver ต่อได้เลยครับ โดย Drivers ต่างๆก็คือตามรุ่นของ Notebook ของเรา หรือคอมพิวเตอร์ประกอบของเราตามรุ่นของเมนบอร์ด ซึ่งบางคนถ้าไม่ลง Drivers จะไม่สามารถทำการใช้ Wireless หรือ LAN และทำการ Activate License ให้ตรงกับ Windows ของเราด้วย แนะนำว่าลง drivers ให้ตรงรุ่นกับคอมพิวเตอร์ของเรานะครับ เป็นไงมั้งครับ สำหรับการลง Windows 7
3.การปิดระบบใน Windows 7
       3.1 Shutdown เป็นการปิดเครื่อง
       3.2 Switch user เป็นการล็อคออนเข้าบัญชีผู้อื่น โดยงานของบัญชีผู้ใช้คนเดิมยังคงอยู่
       3.3 Log off เป็นการปิดการทำงานของบัญชีผู้ใช้อยู๋ปัจจุบัน เพื่อล็อกออนเข้าบัญชีผู้ใช้รายอื่น
       3.4 Lock เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว
       3.5 Restart เป็นการปิดระบบ แล้วบูตเครื่องใหม่
       3.6 Sleep เป็นการหยุดพักระบบหรือระบบหลับชั่วคราว สามารถกลับมาใช้งานเมื่อมีการขยับเมาส์หรือกดปุ่มคีย์ใดๆ บนคีย์บอร์ด
       3.7 Hibernate เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว ด้วยการจัดเก็บงานที่ค้างคาอยู่ ณ ขณะนั้นไว้ในฮาร์ดดิสก์ และเครื่องก็จะถูกปิดไป ครั้นเมื่อมีการเปิดเครื่อง ระบบก็จะโหลดโปรแกรมที่ค้างคาขึ้นมา เพื่อให้เราได้ใช้งานต่อ

                                              

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น