วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บทที่3

บทที่ 3ระบบปฏิบัติการกับการจัดการทรัพยากรระบบ 
1. โปรเซส คือ 
       โดยความหมายในทางปฏิบัติแล้ว process หมายถึงโปรแกรมที่กำลังถูกประมวลผลในการทำงานทั่วไปในระบคอมพิวเตอร์นั้นผู้ใช้อาจต้องการเรียกใช้ word processorหรือjava compilerหรือโปรแกรมอื่นซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนให้เป็น processผ่านกระบวนการที่ได้กำหนดไว้ ช่วงชีวิตของโปรแกรมที่กำลังถูกประมวลผลนี้มีอยู่หลายสถานะ (process state) และตัวของprocessเองก็ต้องมีที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวมันเองซึ่งเราเรียกส่วนนี้ว่า process control block (PCB)

2. สถานะของกระบวนการ ( Process State ) 
       ระบบคอมพิวเตอร์แบบหลายโปรแกรม ( Multiprogramming ) และแบบผู้ใช้หลายคน ( Multiuser ) จะมีกระบวนการที่ทำงานอยู่ในระบบหลายกระบวนการพร้อมๆกันโดยที่บางกระบวนการกำลังขอเข้าใช้งานหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU ) บางกระบวนการกำลังใช้งานหน่วยประมวลผลกลางอยู่บางกระบวนการกำลังร้องขออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลอยู่พฤติกรรมของกระบวนการเหล่านี้เรียกอีกอย่างว่า "สถานะกระบวนการ " ( State of Process )กระบวนการ ( Process ) หมายถึงคำสั่งในโปรแกรมที่ถูกประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลกลางหรืออีกในหนึ่ง ณ เวลาใดๆจะมีเพียงอย่างมาหนึ่งคำสั่งที่ดำเนินการอยู่สถานะของกระบวนการ ( Processtate ) กระบวนการต่างๆที่กำลังทำงานอยู่ในระบบเดียวกันจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะของกระบวนการถึง 5 สถานะด้วยกัน ซึ่งสถานะดังกล่าวจะถูกกำหนดขึ้นโดยกิจกรรม ณ เวลาปัจจุบันที่กระบวนการนั้นๆกำลังกระทำอยู่โดยที่แต่ละ

กระบวนการจะตกอยู่ในสถานะใดสถานะหนึ่งจากสถานะทั้ง 5 ต่อไปนี้
       New กระบวนการใหม่กำลังถูกสร้างขึ้น
       Running กระบวนการกำลังทำงานตามคำสั่งในโปรแกรม
       Waiting กระบวนการกำลังรอคอยให้เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้น
       Ready กระบวนการกำลังรอคอยที่จะเข้าใช้หน่วยประมวลผล
       Terminate กระบวนการเสร็จสิ้นการทำงาน
ตัวชี้หน่วยความจำที่ process ใช้อยู่Context dataข้อมูลที่อยู่ใน register ของ process ขณะถูกประมวลผลI/O status informationข้อมูลของ I/O ที่ process เกี่ยวข้องAccounting information ข้อมูลเกี่ยวกับเวลาของCPU ที่process ใช้, เวลาที่ใช้ไป, ช่วงเวลาที่สามารถใช้ได้และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

   1. New 
         เป็นสถานะของกระบวนการใหม่ที่กำลังถูกสร้างขึ้นหรือกระบวนการเลือกมาจากหน่วยความจำสำรอง(Disk)ซึ่งเป็นคำสั่งที่ผู้ใช้เรียกใช้ผ่าน Command Interpreterแปลเป็นคำสั่งไปเรียกระบบปฏิบัติการให้ดึงข้อมูลหรือโปรแกรมมาตามคำสั่งของผู้ใช้เพื่อเข้ามาประมวลผลในระบบ เมื่อคำสั่งต่างๆถูกเรียกเข้ามาคำสั่งเหล่านั้นจะมาเข้าแถวรอในแถวงาน(Job Queue) เตรียมเปลี่ยนสถานะเพื่อทำงาน
       2. Ready
         เป็นสถานะของกระบวนการที่เตรียมตัวเข้าไปใช้งานหน่วยประมวลผลกลางในสถานะนี้จะเปลี่ยนมาจาก New หรือ Waiting หรือ Running ก็ได้ กระบวนการที่มาจาก New, Waiting หรือ Running จะเข้าแถวคอยเพื่อเข้าไปใช้หน่วยประมวลผลกลางแถวคอยนี้เราเรียกว่า(Ready Queue)
      3. Running
         เป็นสถานะของกระบวนการที่ได้เข้าไปใช้งานหน่วยประมวลผลกลาง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งจะมีเพียง 1 กระบวนการเท่านั้นที่อยู่ในสถานะนี้ของระบบ1ระบบ(มีเพียงกระบวนการเดียวเท่านั้นที่จะได้ใช้หน่วยประมวลผลกลางของแต่ละระบบ) เนื่องจากข้อจำกัดของประมวลผลกลางทำงานด้วยความเร็วสูงมาก จึงไม่มีปัญหาในเรื่องการรอ
       4. Terminate
         เป็นสถานะของกระบวนการที่ได้รับการประมวลผลเสร็จเรียบร้อยแล้วหรือกระบวนการ มีการทำงานที่ผิดปกติ เช่น มีการหารด้วยศูนย์ระบบจะหยุดการทำงานของกระบวนการนั้น แล้วแจ้งให้ทราบถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น (Error)
       5. Waiting
         เป็นสถานะของกระบวนการที่ได้เข้าไปใช้หน่วยประมวลผลกลางแล้วและมีการเรียกใช้ อุปกรณ์รับ - ส่งข้อมูลหรืออุปกรณ์ต่างๆซึ่งทรัพยากรเหล่านั้นยังไม่ว่างหรือมีกระบวนการ อื่นใช้อยู่(เนื่องจาก CPU ทำงานเร็วกว่าอุปกรณ์รับส่งข้อมูลมาก)กระบวนการเล่านั้นจะเปลี่ยนจากRunningมารอในสถานะนี้อาจมีกระบวนการหลายกระบวนการรออยู่จึงมีการจัดคิวในการรอทรัพยากรต่างๆเรียกว่า Device Queue หรือ Waiting Queue
3. การจัดตารางการทํางานมาก่อนได้ก่อน 
       แบบมาก่อนได้ก่อน (First- Come-First-Served-Scheduling: FCFS) เป็นวิธีการจัดการที่มีความเข้าใจง่าย กล่าวคือโปรเซสใดก็ตามที่มีการร้อนขอซีพียูก่อนก็สามารถครอบครองเวลาซีพียูได้ก่อน โดยเป็นไปตามลำดับเวลาของการเข้ามาในลำดับคิวข้อดีของการจัดคิวแบบ FCFS นั้นเป็นอัลกอริทึมที่ง่าย  ไม่ยุ่งยากซับซ้อน

4. การจัดตารางการทํางานแบบหมุนเวียนการทำงาน
       แบบหมุนเวียนกันทำงาน (Round-Robin Scheduling)
ถูกออกแบบมาให้ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์แบบแบ่งเวลา โดยใช้พื้นฐานวิธีแบบมาก่อนได้ก่อนเป็นหลัก ซึ่งแต่ละโปรเซสจะใช้บริการซีพียูด้วยเวลาที่เท่าๆ กัน หมุนเวียนกันไป ที่เรียกว่า เวลาควันตัม (Quantum Time)
4.1. การจัดการหน่วยความจำ      
       การจัดสรรหน่วยความจำ (Memory Allocation)
ข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ล้วนแต่ต้องถูกโหลดเข้าไปในหน่วยความจำหลัก และการที่โปรแกรมสามารถเข้าไปใช้หน่วยความจำของระบบได้ เพราะระบบปฏิบัติการเป็นผู้จัดสรรให้นั่นเอง
       4.1.1. การจัดสรรหน่วยความจำแบบต่อเนื่อง
หลักการว่าโปรแกรมใดๆ ก็ตามจะโหลดเข้ามายังหน่วยความจำหลักได้ก็ต่อเมื่อมีขนาดหน่วยความจำใหญ่พอที่วางชุดคำสั่งของโปรแกรมเหล่านั้นลงไปได้ทั้งหมด
       4.1.2. การจัดสรรหน่วยความจำแบบไม่ต่อเนื่อง
หลักการว่าโปรแกรมที่โหลดเข้าไปยังหน่วยความจำนั้น จะแบ่งเป็นกลุ่ม แยกออกเป็นส่วนๆ หลายๆ ส่วนด้วยกัน
       ระบบโปรแกรมเดี่ยว (Single Program/Mono programming)
คือระบบปฏิบัติการที่สามารถรันโปรแกรมของผู้ใช้ได้เพียงครั้งละหนึ่งเท่านั้น เช่น ระบบปฏิบัติการ DOS
       ระบบหลายโปรแกรม (Multiprogramming)
คือระบบปฏิบัติการที่สามารถรันหลายๆ โปรแกรมได้ในขณะเดียวกัน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows, Unix และ Linux เป็นต้น
       หน่วยความจำเสมือน (Virtual Memory)
เกิดขึ้นจากหลักการที่ว่า ถึงแม้ว่าโปรแกรมที่นำมาโปรเซสจะมีขนาดใหญ่กว่าหน่วยความจำหลักที่มีอยู่จริงก็ตาม แต่ก็สามารถรันโปรแกรมเหล่านั้นได้ ด้วยการจำลองพื้นที่หน่วยความจำบนฮาร์ดดีสก์เสมือนหนึ่งเป็นหน่วยความจำหลัก
5. การจัดการแฟ้มข้อมูล
มีหลักการอยู่ 2 วิธีด้วยกัน
       5.1. การบันทึกข้อมูลในไฟล์แบบเรียงติดกัน
ข้อมูลในแต่ละไบต์ของไฟล์จะถูกบันทึกในลักษณะเรียงต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งจบไฟล์

       5.2. การแบ่งไฟล์เป็นบล็อก
ไฟล์จะถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยแต่ละบล็อกจะนำไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งใดในฮาร์ดดีสก์ก็ได้  โดยแต่ละบล็อกจะมีลิงก์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงตำแหน่งของข้อมูลที่อยู่ในลำดับถัดไป จนพบรหัส EOF (End of File) จุดจบ

       จะเห็นว่าน่วยความจำยิ่งมีขนาดความจุสูงเท่าไร  จะมีการแอคเซสข้อมูลที่ช้า  และมีราคาถูก  เช่น  เทป ฮาร์ดดิสก์ ในขณะที่หน่วยความจำที่ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไรย่อมมีความเร็วสูง  เช่น  รีจิสเตอร์  หน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลักแต่นั่นหมายถึงราคาหรือต้นทุนที่ต้องเพิ่มสูง
หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (volatile memory) 
       เป็นหน่วยความจำที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเพื่อเก็บข้อมูล หากเกิดไฟฟ้าดับ ข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งจะสูญหายไป หน่วยความจำชนิดนี้ เช่น แรม
แรม (Random Access Memory : RAM) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
         1. สแตติกแรม หรือเอสแรม (Static RAM : SRAM) มักพบในตัวซีพียูทำหน้าที่เป็นหน่วยความจำภายในซีพียูที่เรียกว่าหน่วยความ จำแคช ซึ่งจะมีความเร็วสูงกว่าไดนามิกแรม
         2. ไดนามิกแรม หรือ ดีแรม (Dynamic RAM : DRAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้ในการจดจำข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
        คือซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบ คอมพิวเตอร์ จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating sytem) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ ลินุกซ์ เป็นต้น
2.ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ ( User Interface )

      การสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างที่เราต้องการ ผู้ใช้จะต้องป้อนข้อมูลและชุดคำสั่งต่าง ๆ ให้กับคอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยผ่านส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน หรือเรียกว่า ส่วนประสานงานกับผู้ใช้ ( user interface ) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
3.ประเภทคอมมานด์ไลน์ (Command Line )

        เป็นส่วนประสานงานกับผู้ใช้ที่อนุญาตให้ป้อนรูปแบบคำสั่งที่เป็นตัวหนังสือ (text ) สั่งการลงไปด้วยตนเองเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการทีละบรรทัดคำสั่งหรือ คอมมานด์ไลน์ (command line )
4.ประเภทกราฟิก (GUI Graphical User Interface )

     การใช้งานแบบคอมมานด์ไลน์ที่ต้องป้อนข้อมูลชุดคำสั่งทีละบรรทัดนั้น ทำให้เกิดความไม่สะดวกและยุ่งยากกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากพอสมควร โดยเฉพาะกับคนผู้ที่ไม่ชำนาญการหรือไม่สามารถจดจำรูปแบบของคำสั่งต่าง ๆ เหล่านั้นได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบคำสั่งงานคอมพิวเตอร์แบบใหม่โดยปรับมาใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์ในการสั่งงานมากยิ่งขึ้น บางครั้งนิยมเรียกระบบนี้ว่า กิวอี้ (GUI Graphical User Interface ) ดังที่จะเห็นได้ในระบบปฏิบัติการ Windows ที่ไดรับความนิยมอย่างแพร่หลายนั่นเองรูปแบบของกิวอี้นี้ ผู้ใช้อาจจะไม่จำเป็นต้องจดจำรูปแบบคำสั่งเพื่อใช้งานให้ยุ่งยากเหมือนกับแบบคอมมานด์ไลน์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว โดยเพียงแค่รายการคำสั่งภาพที่ปรากฏบนจอนั้นผ่านอุปกรณ์บางอย่าง เช่น เมาส์หรือคีย์บอร์ด เป็นต้น
5.ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC)
       เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแล ควบคุม ระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดี มีดังต่อไปนี้
       1. MS DOS
       2. Linux
       3. Windows
6.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( Network OS )
       ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS ) เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลาย ๆ คน ( multi - user ) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้เรียกว่า เครื่อง server ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับผู้ใช้นั่นเอง     
       Windows Server    
       OS/2 Warp Server    
       Solaris
7.CISC (Complex Instruction Set Computer)
การใช้หน่วยความจำสถาปัตยากรรมแบบ CISC จะมีชุดคำสั่งมากมายหลายคำสั่งที่ซับซ้อนและยุ่งยาก   แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า  ทุกชุดคำสั่งจะมีการ FIX CODE คือ ถ้ามีการใช้ชุดคำสั่งที่มีความซับซ้อนมากก็จะใช้จำนวนบิตมาก  แต่ถ้าใช้งานชุดคำสั่งที่มีความซับซ้อนน้อยก็จะใช้จำนวนบิตน้อยเช่นกัน ในการเก็บชุดคำสั่งของ CISC นั้นจะเก็บเท่ากับจำนวนจริงของการใช้งาน จึงประหยัดเนื้อที่ในหน่วยความจำแต่เนื่องจากการเก็บชุดของคำสั่งนั้น เก็บเฉพาะการใช้งานจริง ซึ่งจะใช้งานหน่วยความจำน้อย  แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน แต่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ช้าลง  เพราะต้องเสียเวลาการถอดรหัสอันยุ่งยากของการเข้ารหัสที่มีขนาดไม่เท่ากัน
ประสิทธิภาพ
       1.เนื่องจาก CISC มีชุดของคำสั่งที่ซับซ้อนมากกว่า RISC และในคำสั่งพิเศษที่มีอยู่ใน  CISC นั้น (หรือคำสั่งยากๆ)  เช่น การแก้สมการในการทำงานหนึ่งคำสั่งของ CISC อาจใช้เวลา (สัญญาณนาฬิกา) มากกว่าการนำเอาคำสั่งที่มีอยู่ใน RISC หลายๆคำสั่งมารวมกันเสียอีก
        2.ประสิทธิภาพอาจลดลงเนื่องจากเสียเวลาในการถอดรหัส เพราะชุดคำสั่งของ CISC ไม่แน่นอน มีทั้งสั้นและยาว อีกทั้งวงจรมีความสลับซับซ้อนมาก และใช้วงรอบสัญญาณนาฬิกานาน จึงทำให้เสียค่าใช่จ่ายสูง และใช้เวลานานกว่าในการประมวลผล
การสนับสนุนของคอมไพเลอร์
ใน CISC มีชุคำสั่งที่ซับซ้อนซึ่งติดมากับซีพียูอยู่แล้ว   แต่เมื่อมาทำการเขียนโปรแกรมแล้วผ่านตัวคอมไพเลอร์  หรือ ตัวแปลจากโปรแกรมเป็นภาษาเครื่อง  จะพบว่าคำสั่งยากๆ ที่มีอยู่ในซีพียูนั้น ตัวคอมไพเลอร์ กลับแปลงให้อยู่ในรูปของคำสั่งง่ายๆ  หรือกล่าวคือ  วอฟต์แวร์ไม่สนับสนุนกับฮาร์ดแวร์  ซึ่งในซีพียูหรือฮาร์ดแวร์นั้นมีการรองรับการทำงานของชุดคำสั่งนี้  แต่ตัวซอฟต์แวร์ไม่ได้มีการใช้คุณสมบัติจากชุดของคำสั่งที่ติดมากับตัวซีพียู แต่อย่างใด   ดังนั้น   ชุดคำสั่งที่บรรจุเอาคำสั่งที่ซับซ้อนไว้ใน  CISC  นั้น จะไม่ค่อยมีประโยชน์มากนัก  ถ้าหากว่าคอมไพเลอร์นั้นไม่รองรับ  และยิ่งไปกว่านั้นตัวคอมไพเลอร์บางตัว  ยังมีชุดคำสั่งที่ยากๆอยู่ในตัวแล้ว  แต่ไม่ได้นำมาใช้งานใน CISC นี้เลย
8.Reduced Instruction Set Computer (RISC)
       เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดหนึ่งที่มีชุดคำสั่งจำนวนไม่มากนัก ตรงข้ามกับ CISC (Complex Instruction Set Computer) คอมพิวเตอร์แบบ RISC สามารถกระทำการตามคำสั่งได้อย่างรวดเร็วมากเพราะคำสั่งจะสั้น นอกจากนั้นชิพแบบ RISC ยังผลิตได้ง่ายกว่าอีกด้วย (เนื่องจากใช้จำนวนทรานซิสเตอร์น้อยกว่า) ตัวอย่างชิพประเภทนี้ได้แก่ ARM, DEC Alpha, PA-RISC, SPARC, MIPS, และ PowerPC
RISC เป็นสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในอนาคต ทั้งนี้เพราะการใช้สถาปัตยกรรมแบบนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้น ปกติ หากพิจารณาจำนวนบิตที่เท่ากันระหว่างสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบ CISC กับ RISC แล้ว จะพบว่าคอมพิวเตอร์แบบ RISC จะเร็วกว่าแบบ CISC ประมาณ 3 เท่า หลักการอย่างง่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ RISC คือ ออกแบบให้ซีพียู (CPU) ทำงานในวงรอบสัญญาณนาฬิกา (Cycle) ที่แน่นอน โดยพยายามลดจำนวนคำสั่งลงให้เหลือเป็นคำสั่งพื้นฐานมากที่สุด แล้วใช้หลักการไปป์ไลน์ (pipeline) คือ การทำงานแบบคู่ขนานชนิดเหลื่อมกัน (overlap) ปกติแล้วการทำงานใน 1 ชุดคำสั่งจะใช้เวลามากกว่า 1 วงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle) หากแต่การทำคำสั่งเหล่านั้นให้มีการทำงานในลักษณะเป็นแถว (pipe) และขนานกันด้วย จึงทำให้ได้ค่าเฉลี่ยโดยรวมของเวลาเป็นคำสั่งละหนึ่งวงรอบสัญญาณนาฬิกา (cycle)
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบ RISC ได้แก่ mips รุ่น R 2000 ได้ออกแบบชุดคำสั่งไว้ชัดเจนว่ามีการทำงานแบบ 5 ขั้นตอน นั่นคือเป็นการทำงานแบบขนานถึง 5 ระดับด้วยกัน
9.ระบบปฏิบัติการ DOS
ระบบปฏิบัติการดอส
(DOS : Disk Operating System)
       เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น Versions 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย

       การใช้คำสั่งดอส โดยการพิมพ์คำสั่งที่เครื่องหมายพร้อมรับคำสั่ง ในลักษณะ Command Line ซึ่ง DOS ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยการพิมพ์คำสั่ง ไม่มีภาพกราฟิกให้ใช้ เรียกว่าทำงานในโหมดตัวอักษร Text Mode

ข้อเสีย คือ ติดต่อกับผู้ใช้ไม่สะดวก เพราะผู้ใช้ต้องจำ และพิมพ์คำสั่งให้ถูกต้องโปรแกรมจึงจะทำงาน ดังนั้นประมาณปี ค.ศ. 1985 บริษัทไมโครซอฟต์ได้พัฒนา Microsoft Windows Version 1.0 และเรื่อยมาจนถึง Version 3.11 ในปีค.ศ. 1990 ซอฟต์แวร์ดังกล่าว ทำงานแบบกราฟิกเรียกว่า Graphic User Interface (GUI) ทำหน้าที่แทนดอส ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้อย่างมาก คุณสมบัติเด่นของ Microsoft Windows 3.11 คือทำงานในกราฟิกโหมด เป็น Multi-Tasking และ Generic แต่ยังคงทำงานในลักษณะ Single-User ยังคงต้องอาศัยระบบปฏิบัติการดอส ทำการบูทเครื่องเพื่อเริ่มต้นระบบก่อน
10.ระบบปฏิบัติการ WINDOWS XP
MICROSOFT WINDOWS EXPERIENCE

       เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ ทุกๆ 2 ปี บริษัทผู้ผลิตจะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นข้อด้อยของรุ่นเก่า Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่าๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง

       Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กรตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น
11.ระบบปฏิบัติการ MAC
        เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing)
12.ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
       เป็นระบบปฏิบัติการที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bellสร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์   และเมนเฟรม   ใช้ในการควบคุมการทำงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก   ดังนั้นยูนิกซ์    จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่    และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถนำยูนิกซ์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ คาดว่ายูนิกซ์จะเป็นที่นิยมต่อไป

13.ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์                                                 
       เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง  ในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  มีลักษณะคล้ายการจำลองการทำงาน  มาจากยูนิกซ์ แต่จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่า  เป็นระบบปฏิบัติการ ประเภทแจกฟรี (Open Source) ผู้นำไปใช้งาน สามารถที่จะพัฒนาและปรับปรุงในส่วนที่เกิดปัญหาระหว่างใช้งานได้ทันที อีกทั้งยังสามารถปรับให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ที่ใช้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของระบบมากที่สุด และยังมีการเพิ่มสมรรถนะ (Update) อยู่ตลอดเวล


14.ระบบปฏิบัติการมือถือ os คืออะไร?
  ระบบปฏิบัติการมือถือ (Mobile operating system)  (โอเอส = OS) คือ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาให้เป็นตัวกลางจัดสรรระบบนิเวศระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์ชิ้นส่วนภายในเครื่องหรือฮาร์ดแวร์ ให้ซอฟท์แวร์ต่างๆที่เราติดตั้งสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ผู้ออกแบบระบบต้องการ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการมือถือที่เป็นที่นิยมประกอบด้วย
1. iOS   เจ้าของคือบริษัทแอปเปิ้ล ที่ใช้ในมือถือไอโฟน
2. Android   เจ้าของคือ กลูเกิล ที่ใช้ในมือถือทั่วไป (ได้รับความนิยมสูงสุด)

3. Window Phone เจ้าของไมโครซอฟท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น